จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายและความสำคัญของสี

ความหมายของสี
สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาจะทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่มองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่นสะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบก็จะดูดทุกสีสะท้อนแต่สีแดงทำให้เกิดการมองเห็นเป็นสีแดง และรับรู้สีได้เพราะเมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่าแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เมื่อหักเหผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้งเรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง*  และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นและพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้วโดยเกิดจากการหักเห ของแสงอาทิตย์หรือแสงสว่างเมื่อผ่านละอองนํ้าในอากาศซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยาคือมีอำนาจให้เกิด ความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย

ความสำคัญของสีที่มีต่อวิถีชีวิต

สี เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตอย่างมาก นับแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน ได้มีการนำสีมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์กับวิถีชีวิตเพราะสรรพสิ่ง ทั้งหลายได้ถูกห้อมล้อมประกอบไปด้วยสีทั้งสิ้นในงานศิลปะสีเป็นองค์ประกอบ สำคัญอย่างหนึ่งและในวิถีชีวิตและสีก็เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
  1. ใช้นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
  2. ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
  3. ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
  4. ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
  5. ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
  6. เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์
ที่มาของสีนั้นมี 3 ทาง คือ
  1. สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรงหรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้างจากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
  2. สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีเป็นสารเคมีที่ ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้สะดวกมากขึ้นซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่ ไปในปัจจุบัน
  3. แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สีโดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสงอยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้

             ปัจจุบันมนุษย์เริ่มวิวัฒนาการมากขึ้นเกิดคตินิยมในการรับรู้และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีจึงได้รับการพัฒนาเพื่อนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดาร จากเดิมที่เคยใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติได้นำมาประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต สีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยมีการ พัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่าง
   ตัวอย่างสีในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ยังมีสีอีกมากมายหลายเฉดสีแต่ละสีก็สื่อความหมาย และให้อารมณ์ภาพแตกต่างกันออกไปซึ่งแม้ว่าบางสีจะให้ความหมายที่กว้าง แต่กระนั้นความหมายและอารมณ์ของสีเหล่านี้ก็สามารถใช้เป็นไกด์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและสื่ออารมณ์กับงานออกแบบได้



ขอขอบคุณแหล่งที่มาบางส่วน
*(ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html )
ภาพจาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n91.php ธรรมชาติของสีจากธรรมาชาติ

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบกับงานออกแบบ


กระบวนการคิดเบื้องต้น
                 การจะได้แนวคิดที่สนใจมาทำงาน จำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนบางอย่างมาก่อน เช่น การตีความโจทย์ให้แตกต่างกันออกไป หรือหาข้อมูลเบื้องลึกเพื่อนำมาใช้ประกอบการดีไซน์
สำหรับนักออกแบบมักจะเริ่มต้นทำงานโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดที่น่าสนใจ หรือ Concept ก่อนเป็นอันดับแรก
ถึงแม้ว่านักออกแบบจะหาแนวคิดที่น่าสนใจมาได้แล้วจากขั้นตอนต่างๆ จนถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีแล้วนั้น แต่ในความเป็นจริงแนวความคิดที่ดียังถือว่าไม่เพียงพอ เพราะยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นส่วนประกอบสำหรับทำให้เกิดงานกราฟิกที่ดีได้

กระบวนการคิดสร้างสรรค์เบื้องต้น 
การรู้ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ขันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากเพราะจิตของคนเรานั้นสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม มันจะอาศัยสิ่งรอบตัวของคนผู้นั้น สร้างแบบแผนต่างๆ ขึ้นมา จดเอาไว้ ตอบโต้ และยิ่งนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ มากเท่าไรมันก็ยิ่งมันคงและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาแม้ว่าจะเชื่อกันว่าสมองซีกขวาจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิกสร้างสรรค์มากกว่าก็ตาม แต่ในความเป็นจริงถ้าขาดการคิดอย่างมีเหคุผลของสมองซีกซ้ายแล้วล่ะก็ สมองซีกขวาก็อาจทำงานไม่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างของคนที่มีสมองดีเลิศทั้ง 2 ซีก ได้แก่ Leonardo da Vinci (1452 - 1519) ศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาลี





สมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย และทำงานในลักษณะของภาพรวม ความคิดรวบยอด จินตนาการ การใช้ความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้น บรรดาศิลปิน นักวาดภาพ ช่างปั้น นักร้อง นักแต่งแพลง นักเขียนก็จะใช้สมองซีกนี้มากกว่า ตัวอย่างของคนที่มีสมองซีกขวาดีเลิศ ได้แก่ Wolfgang Amadeus Mozart (1756 - 1791) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรีย

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการออกแบบ
วัตถุประสงค์ของการออกแบบเป็นพื้นฐานสำคัญของเป้าหมายในเรื่องของการออกแบบนอกจากหน้าที่ใช้สอยแล้วความน่าสนใจก็คือหัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่ง
ความน่าสนใจเกิดได้หลายแบบ เช่น การเกิดรูปแบบใหม่ๆ การสื่อสารแบบใหม่ การสร้างภาษากราฟิกแบบใหม่ การกบฎต่อแนวคิดเก่า หรือแม้แต่ความเรียบง่ายก็ตาม
สรุปแล้วความน่าสนใจมักจะมีคุณสมบัติของความใหม่และการสร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนประกอบ
ส่วนเป้าหมายด้านอื่นๆ เช่น เป้าหมายด้านการตลาด  เป้าหมายทางการให้เผยแพร่ข่าวสารหรือเป้าหมายทางการเมือง ก็ยังคงมีอยู่
คุณสมบัติของนักออกแบบ  ในการเป็นนักออกแบบที่ดี จะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของนักออกแบบมีหลายประการ ซึ่งพอจะจำแนกออกได้ดังนี้




1. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
           สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักออกแบบ  คือ ความคิดสร้างสรรค์ ถ้านักออกแบบนั้นขาดสมองและขาดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ใช้เวลาในการคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา คุณก็ไม่ใช่นักออกแบบที่ดี เพราะว่านักออกแบบที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ

2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการออกแบบ
           ทักษะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลองปฎิบัติ ทำซํ้า จนเกิดความชำนาญ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในแขนงนั้นๆ เมื่อถึงเวลาลงมือปฎิบัติจริง ควรใช้ระยะเวลาตามกำหนดไม่ควรใช้เวลาในการปฎิบัติมากเกินไป ในขณะที่นักออกแบบคิดสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นควรหมั่นฝึกฝนทักษะไว้ให้ชำนาญ

3. เป็นผู้ที่รู้จักสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวซึ่งมีทั้งสภาพทางธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
           คุณสมบัติเริ่มต้นของนักออกแบบ คือ  ช่างสังเกต การเป็นนักช่างสังเกตนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆ จากสิ่งที่เห็นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะเล็กน้อยเพียงใดแต่มันก็ทำให้เกิดความคิดที่ยิ่งใหญ่ ถ้ารู้จักคิด รู้จักสังเกต รู้จักพิจารณา และพัฒนาตัวเอง ตัวอย่างเช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถ้าวันนั้นเซอร์ไอแซก นิวตัน ไม่สังเกตผลแอบเปิ้ลที่หล่นลงมาจากต้นไม้ เพราะความช่างสังเกต ช่างตั้งคำถามและต้องการหาคำตอบของเซอร์ไอแซก นิวตัน มนุษย์บนโลกจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุดของกฏของแรงโน้มถ่วง หรือ กฏของเซอร์ไอแซก นิวตัน ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดหลายๆแบบต่อๆ กันมาจนปัจจุบันนี้          

4. เป็นผู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของงานออกแบบสร้างสรรค์ทุกสาขาอยู่เสมอ
          นักออกแบบที่ดีนั้นควรจะรอบรู้ในทุกแขนงวิชาเพื่อนำความรู้นั้นมาช่วยในการพัฒนาและออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์ใดๆก็ตาม เช่น เมื่อต้องการจะออกแบบ เช่น เก้าอิ้สำหรับคนพิการทางเท้า ก็ควรต้องศึกษาหาความรู้ว่า ทำอย่างไงถึงจะออกแบบให้คนพิการทางเท้านั้นได้สามารถใช้ สิ่งที่นักออกแบบคิดออกแบบมานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นักออกแบบต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่ เรื่องของกายวิภาคศาสตร์ เรื่องของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องของวัสดุที่จะนำมาใช้ แม้กระทั่งเรื่องของจิตใจของผู้พิการนั้นเอง เพื่อที่นักออกแบบจะได้นำข้อมูลทั้งหมดนั้นมาประมวลหาความพอดี ความเหมาะสม และลงมือปฎิบัติให้เกิดผลที่น่าพอใจ ทั้งต่อนักออกแบบและผู้ใช้ให้มากที่สุดนั้นเอง

5. เป็นผู้ที่มีความสนใจศึกษาความเชื่อ และผลงานที่ออกแบบตามความเชื่อในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานใน   การออกแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าต่อไปในปัจจุบันและอนาคต
          เรื่องราวในอดีตนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของล้าสมัย ทุกอย่างล้วนมีความลงตัวและดีที่สุดในยุคสมัยนั้นๆ เพียงแต่เทคโนโลยี่ทางวัตถุนั้นอาจจะยังเทียบกับสมัยนี้ไมได้ เน้นว่าเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่ไอเดียและความคิดนั้นเรียกได้ว่าจะ 100 ปี หรือ 1000 ที่แล้ว มนุษย์ก็มีความคิดใหม่ๆ มาเสมอ ฉะนั้นการที่เราจะศึกษาแนวความคิดของการออกแบบในยุคสมัยต่างๆ นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการทำความเข้าใจในจุดประสงค์และสามารถนำความคิดนั้นมาพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เช่น ในยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นเครื่องทุนแรง ในการล่าสัตว์หรืออาวุธนั้นเอง จากไม้แหลมที่ไว้แทงล่าสัตว์ ก็กลายมาเป็นหิน และหินนั้นก็มีหลายชนิดจนกระทั่งค้นพบหินที่มีความเหมาะสมแข็งและวิธีทำให้ได้รูปทรงตามต้องการ จนมาถึงยุคของเหล็กและทองแดงและจนปัจจุบัน ตามข้อความนี้ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกยุคนั้นคิดอาวุธได้ดีเสมอ เมื่อมีการค้นพบวัสดุใหม่ๆ และนำมาใช้การสร้างและปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะศึกษาจากสิ่งของยุคเก่าและอย่าดูถูกของที่ล้าสมัยไปแล้วเพระว่าช่วงหนึ่ง มันคือสิ่งที่ทันสมัยเหมือนกัน

6. เป็นผู้ที่เข้าใจสภาพแวดล้อมของสังคม และความต้องการของประชาชน เพื่อให้การออกแบบสอดคล้องกับความต้องการ
           สังคม เป็นสิ่งที่อยู่กับนักออกแบบเสมอๆ สังคมคือกลุ่มที่มนุษย์นั้นรวมตัวกันอยู่และใช้วิถีชีวิตร่วมกัน นักออกแบบก็คือส่วนหนึ่งในสังคม เมื่อนักออกแบบต้องการ สร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นก็ต้องมองสังคมควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เพราะว่าสิ่งที่คิดนั้น เมื่อมันออกมาเป็นผลงานแล้วสังคมไม่ให้การยอมรับหรือว่าไม่ใช้งานมันแล้วละก็ มันก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ฉะนั้นนักออกแบบที่ดีต้องใช้ชีวิตและอยู่ในสังคมนั้นๆ เข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แล้วนำสิ่งที่ต้องการพัฒนามาปรับปรุง สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ที่สังคมนั้นๆ ต้องการ จึงจะทำให้ผลงานนั้นๆ มีคุณค่าและได้รับการยอมรับ จึงจะเรียกว่านักออกแบบ

7. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจงานออกแบบแต่ละชนิด เพื่อให้การออกแบบตอบสนองได้ตรงตาม จุดประสงค์ของงานออกแบบ
นั้น ๆ เช่น การออกแบบโฆษณามีจุดประสงค์ในการจูงใจเป็นต้น
           ในศาสตร์ของการออกแบบนั้น ไม่ว่าจะออกแบบสิ่งๆใด นักออกแบบต้องเข้าใจในกระบวนการของสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดผลตามที่คาดหวังไว้ ฉะนั้นนักออกแบบต้องคิดให้เป็นกระบวนการตั้งแต่ ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร ทำแล้วจะใช้ได้จริง ทำแล้วจะต้องประสบผลสำเร็จ   แบบนี้เป็นต้น จุดเล็กๆ เหตุผลเล็กๆ ของความต้องการของผู้อื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ถ้านักออกแบบสามารถทำออกมาได้ตามความต้องการของคนคนนั้น นี่คือแนวคิด และวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่
นี่คือแนวคิดและวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่ดี 
โดยมีพื้นฐานในการทำงาน




วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

Graphic design กับ งานออกแบบ



Design by nathanee.k

งานออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดจากความคิดออกมาเป็นรูปแบบของผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น สัมผัสหรือรับรู้ได้ เพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกันในผลงาน

ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้
     1.  รูปแบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
     2.  ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
     3.  ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้
     4.  เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด

รูปแบบ  เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้  
     1.  เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่างๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ 
     2.  เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้ สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสามารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหาข้อบกพร่องได้ 

ประเภทของการออกแบบ
     1.  การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่างๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามงานทางสถาปัยตกรรมของสิ่งก่อสร้าง  ได้แก่ สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
          1.1  สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
          1.2  สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
          1.3  งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
          1.4  งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
     2.  การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
           2.1  งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
           2.2  งานออกแบบครุภัณฑ์
           2.3  งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
           2.4  งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
           2.5  งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
           2.6  งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
           2.7  งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
           2.8  งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่างๆ ฯลฯ 
     3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
          3.1  งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
          3.2  งานออกแบบเครื่องยนต์
          3.3  งานออกแบบเครื่องจักรกล
          3.4  งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
          3.5  งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่างๆ ฯลฯ
      4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
          4.1  งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
          4.2  งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
          4.3  งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
          4.4  งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
          4.5  การจัดนิทรรศการ (Exhibition
          4.6  การจัดบอร์ด
          4.7  การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ
      5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่างๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ


Design by nathanee.k




ขอบขอบคุณ สาระดีดี web prc.ac.th 
สามารถดูตัวอย่างเว็บไซต์เพิ่มเติมที่  www.makewebeasy.com/client/