จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

องค์ประกอบการออกแบบ (Elements)



1. องค์ประกอบในความคิด (Conceptual Elements)

         องค์ประกอบในความนึกคิดไม่สามารถมองเห็นได้ไม่มีตัวตนแต่ดูเหมือนจะคงอยู่โดยทั่วไป เช่น เรารู้สึกว่ามีจุดอยู่ตรงมุมของรูปร่างมีเส้นอยู่บริเวณรูปร่างของวัตถุมีระนาบหุ้มห่อปริมาตรและปริมาตรครอบคลุมพื้นที่ว่าง แต่ว่าความจริงแล้วองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่บริเวณดังกล่าวอย่างแท้จริง เราเรียกลักษณะขององค์ประกอบทั้งหมดนี้ว่า”องค์ประกอบในความนึกคิด”

1.1 จุด (Point) 

  • จุดชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งในที่ว่าง ไม่มีความกว้าง ความยาว ความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ (Static) ไม่มีทิศทาง( Directionless) ไม่ครอบคลุมพื้นที่ว่าง


1.2 เส้น (Line) 

  • เมื่อจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนไปคือ เส้น ความรู้สึกนึกคิดของเส้นจะต้องมีความยาว แต่ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก มีตำแหน่งและทิศทางพร้อมทั้งการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโต พื้นฐานของกราฟิกก็คือลายเส้น ( LINE ) ไม่ว่าเส้นหนาหรือบาง เส้นประ เส้นโค้ง เส้นซิกแซก ล้วนเป็นการสร้างรูปทรงและสื่อความหมายและสามารถประกอบเป็นภาพได้ หรือ เน้นบางส่วนขอเนื้อหาได้เช่นกัน

1.3 ระนาบ (Plane) 

  • ระนาบเกิดจากการเคลื่อนไหวของแนวของเส้นในทิศทางที่ไม่มีทิศทางของตัวเส้นเอง ทำให้เกิดความกว้างแต่ไม่มีความหนา มีตำแหน่ง และทิศทางที่กำหนดขอบเขตเส้นขนาน 2 เส้น อธิบายได้ถึงความเป็นระนาบซึ่งเกิดจากแนวเส้นที่มองไม่เห็นระหว่าง 2 เส้นขนานนั้นซึ่งให้ความรู้สึกที่ต่อเนื่องกันด้วยสายตา เมื่อเส้นขนานแคบเข้าความรู้สึกของระนาบจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ถ้ามีเส้นขนานจำนวนมากที่ถี่ขึ้นๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อช่องว่างระหว่างแนวเส้นขนานที่ถี่มากจะเป็นเพียงสิ่งที่มาขัดจังหวะพื้นผิวระนาบเท่านั้น



1.4 ปริมาตร / พื้นที่ในการออกแบบ (Volume/Space) 

  • เมื่อระนาบเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆจะเป็นปริมาตรซึ่งมีตำแหน่งในที่ว่างและล้อมรอบโดยระนาบ ปริมาตรหรือมวล(mass) นี้สามารถลวงตาได้เป็น 3 มิติ และถ้าเป็นช่องว่างของตัวอักษรจะช่วยให้อ่านง่ายต่อการอ่าน



2. องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements)

         

         องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements) จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบในความนึกคิด(Conceptual Elements) โดยเมื่อเราเขียนจุด เส้น ระนาบ หรือปริมาตรลงบนกระดาษ เราจะไม่เพียงแต่มองเห็นความกว้างยาวเท่านั้น แต่จะเห็นถึงสีและพื้นผิว ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราใช้และวิธีใช้ เมื่อองค์ประกอบในความนึกคิดเปลี่ยนเป็นมองเห็นได้จะแสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ขนาด สี ผิวสัมผัสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ

2.1 รูปร่าง (Shape/From) 

  • เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของรูปทรงต่างๆ รูปร่างขององค์ประกอบเป็นอย่างไร มีผลมาจากรูปทรงของพื้นผิวและขอบของรูปทรงนั้น ทุกสิ่งที่มองเห็นได้จะมีรูปร่างต่างๆ

2.2 ขนาด (Size/Scale) 

  • แสดงระยะจริงของรูปทรง ความยาว กว้าง สูง ให้วัดได้ระยะเป็นสิ่งกำหนดสัดส่วน (Proportion) ของรูปทรงในสภาพแวดล้อมองค์ประกอบที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างจะมีขนาดซึ่งแสดงถึงความใหญ่เล็ก



2.3 สี (Color) 

  • เนื้อสี ความเข้มสี และความสว่างหรือมืดของสีบนผิวของรูปทรง เป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดในการแยกองค์ประกอบต่างๆ จากสภาพแวดล้อมโดยรอบ“สี” มีความสำคัญกับงานออกแบบแค่ไหน สีที่เลือกใช้ช่วยสื่อสารในเชิงจิตวิทยาของงานได้ คู่สีที่ดีก็ช่วยดึงความสนใจจากผู้พบเห็นได้ ศาสตร์แห่งการใช้สีจึงเป็นความรู้ยิ่งใหญ่ที่เรียนรู้อย่างไรก็ไม่มีวันหมดง่ายๆ แน่นอน ไม่น่าแปลกใจที่การเลือกใช้สีในงานกราฟิก


2.4 ผิวสัมผัส (Texture) 

  • ลักษณะผิวสัมผัสของรูปทรง จะมีผลต่อความแตกต่างในการรับรู้ด้วยการสัมผัส และการสะท้อนแสง ผิวสัมผัสเรียบจะให้ความรู้สึกอยากสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบจะให้ความรู้สึกขรุขระหรือแหลมคมไม่น่าสัมผัส เหมาะที่จะดูด้วยตาเพียงเดียว



2.5 ตัวอักษร (Text / Typography ) 

  • งานออกแบบที่ดีจึงต้องมีตัวอักษรที่เหมาะสมด้วย การออกแบบขึ้นกับประโยชน์ใช้สอย บางครั้งการออกแบบต้องการตัวอักษรที่อ่านง่าย เหมาะกับงานพิมพ์ ตัวอักษรที่น่าสนใจ ตัวอักษรที่เหมาะกับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ เช่นกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น