จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบกับงานออกแบบ


กระบวนการคิดเบื้องต้น
                 การจะได้แนวคิดที่สนใจมาทำงาน จำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนบางอย่างมาก่อน เช่น การตีความโจทย์ให้แตกต่างกันออกไป หรือหาข้อมูลเบื้องลึกเพื่อนำมาใช้ประกอบการดีไซน์
สำหรับนักออกแบบมักจะเริ่มต้นทำงานโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดที่น่าสนใจ หรือ Concept ก่อนเป็นอันดับแรก
ถึงแม้ว่านักออกแบบจะหาแนวคิดที่น่าสนใจมาได้แล้วจากขั้นตอนต่างๆ จนถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีแล้วนั้น แต่ในความเป็นจริงแนวความคิดที่ดียังถือว่าไม่เพียงพอ เพราะยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นส่วนประกอบสำหรับทำให้เกิดงานกราฟิกที่ดีได้

กระบวนการคิดสร้างสรรค์เบื้องต้น 
การรู้ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ขันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากเพราะจิตของคนเรานั้นสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม มันจะอาศัยสิ่งรอบตัวของคนผู้นั้น สร้างแบบแผนต่างๆ ขึ้นมา จดเอาไว้ ตอบโต้ และยิ่งนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ มากเท่าไรมันก็ยิ่งมันคงและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาแม้ว่าจะเชื่อกันว่าสมองซีกขวาจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิกสร้างสรรค์มากกว่าก็ตาม แต่ในความเป็นจริงถ้าขาดการคิดอย่างมีเหคุผลของสมองซีกซ้ายแล้วล่ะก็ สมองซีกขวาก็อาจทำงานไม่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างของคนที่มีสมองดีเลิศทั้ง 2 ซีก ได้แก่ Leonardo da Vinci (1452 - 1519) ศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาลี





สมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย และทำงานในลักษณะของภาพรวม ความคิดรวบยอด จินตนาการ การใช้ความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้น บรรดาศิลปิน นักวาดภาพ ช่างปั้น นักร้อง นักแต่งแพลง นักเขียนก็จะใช้สมองซีกนี้มากกว่า ตัวอย่างของคนที่มีสมองซีกขวาดีเลิศ ได้แก่ Wolfgang Amadeus Mozart (1756 - 1791) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรีย

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการออกแบบ
วัตถุประสงค์ของการออกแบบเป็นพื้นฐานสำคัญของเป้าหมายในเรื่องของการออกแบบนอกจากหน้าที่ใช้สอยแล้วความน่าสนใจก็คือหัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่ง
ความน่าสนใจเกิดได้หลายแบบ เช่น การเกิดรูปแบบใหม่ๆ การสื่อสารแบบใหม่ การสร้างภาษากราฟิกแบบใหม่ การกบฎต่อแนวคิดเก่า หรือแม้แต่ความเรียบง่ายก็ตาม
สรุปแล้วความน่าสนใจมักจะมีคุณสมบัติของความใหม่และการสร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนประกอบ
ส่วนเป้าหมายด้านอื่นๆ เช่น เป้าหมายด้านการตลาด  เป้าหมายทางการให้เผยแพร่ข่าวสารหรือเป้าหมายทางการเมือง ก็ยังคงมีอยู่
คุณสมบัติของนักออกแบบ  ในการเป็นนักออกแบบที่ดี จะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของนักออกแบบมีหลายประการ ซึ่งพอจะจำแนกออกได้ดังนี้




1. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
           สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักออกแบบ  คือ ความคิดสร้างสรรค์ ถ้านักออกแบบนั้นขาดสมองและขาดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ใช้เวลาในการคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา คุณก็ไม่ใช่นักออกแบบที่ดี เพราะว่านักออกแบบที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ

2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการออกแบบ
           ทักษะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลองปฎิบัติ ทำซํ้า จนเกิดความชำนาญ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในแขนงนั้นๆ เมื่อถึงเวลาลงมือปฎิบัติจริง ควรใช้ระยะเวลาตามกำหนดไม่ควรใช้เวลาในการปฎิบัติมากเกินไป ในขณะที่นักออกแบบคิดสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นควรหมั่นฝึกฝนทักษะไว้ให้ชำนาญ

3. เป็นผู้ที่รู้จักสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวซึ่งมีทั้งสภาพทางธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
           คุณสมบัติเริ่มต้นของนักออกแบบ คือ  ช่างสังเกต การเป็นนักช่างสังเกตนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆ จากสิ่งที่เห็นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะเล็กน้อยเพียงใดแต่มันก็ทำให้เกิดความคิดที่ยิ่งใหญ่ ถ้ารู้จักคิด รู้จักสังเกต รู้จักพิจารณา และพัฒนาตัวเอง ตัวอย่างเช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถ้าวันนั้นเซอร์ไอแซก นิวตัน ไม่สังเกตผลแอบเปิ้ลที่หล่นลงมาจากต้นไม้ เพราะความช่างสังเกต ช่างตั้งคำถามและต้องการหาคำตอบของเซอร์ไอแซก นิวตัน มนุษย์บนโลกจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุดของกฏของแรงโน้มถ่วง หรือ กฏของเซอร์ไอแซก นิวตัน ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดหลายๆแบบต่อๆ กันมาจนปัจจุบันนี้          

4. เป็นผู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของงานออกแบบสร้างสรรค์ทุกสาขาอยู่เสมอ
          นักออกแบบที่ดีนั้นควรจะรอบรู้ในทุกแขนงวิชาเพื่อนำความรู้นั้นมาช่วยในการพัฒนาและออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์ใดๆก็ตาม เช่น เมื่อต้องการจะออกแบบ เช่น เก้าอิ้สำหรับคนพิการทางเท้า ก็ควรต้องศึกษาหาความรู้ว่า ทำอย่างไงถึงจะออกแบบให้คนพิการทางเท้านั้นได้สามารถใช้ สิ่งที่นักออกแบบคิดออกแบบมานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นักออกแบบต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่ เรื่องของกายวิภาคศาสตร์ เรื่องของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องของวัสดุที่จะนำมาใช้ แม้กระทั่งเรื่องของจิตใจของผู้พิการนั้นเอง เพื่อที่นักออกแบบจะได้นำข้อมูลทั้งหมดนั้นมาประมวลหาความพอดี ความเหมาะสม และลงมือปฎิบัติให้เกิดผลที่น่าพอใจ ทั้งต่อนักออกแบบและผู้ใช้ให้มากที่สุดนั้นเอง

5. เป็นผู้ที่มีความสนใจศึกษาความเชื่อ และผลงานที่ออกแบบตามความเชื่อในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานใน   การออกแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าต่อไปในปัจจุบันและอนาคต
          เรื่องราวในอดีตนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของล้าสมัย ทุกอย่างล้วนมีความลงตัวและดีที่สุดในยุคสมัยนั้นๆ เพียงแต่เทคโนโลยี่ทางวัตถุนั้นอาจจะยังเทียบกับสมัยนี้ไมได้ เน้นว่าเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่ไอเดียและความคิดนั้นเรียกได้ว่าจะ 100 ปี หรือ 1000 ที่แล้ว มนุษย์ก็มีความคิดใหม่ๆ มาเสมอ ฉะนั้นการที่เราจะศึกษาแนวความคิดของการออกแบบในยุคสมัยต่างๆ นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการทำความเข้าใจในจุดประสงค์และสามารถนำความคิดนั้นมาพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เช่น ในยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นเครื่องทุนแรง ในการล่าสัตว์หรืออาวุธนั้นเอง จากไม้แหลมที่ไว้แทงล่าสัตว์ ก็กลายมาเป็นหิน และหินนั้นก็มีหลายชนิดจนกระทั่งค้นพบหินที่มีความเหมาะสมแข็งและวิธีทำให้ได้รูปทรงตามต้องการ จนมาถึงยุคของเหล็กและทองแดงและจนปัจจุบัน ตามข้อความนี้ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกยุคนั้นคิดอาวุธได้ดีเสมอ เมื่อมีการค้นพบวัสดุใหม่ๆ และนำมาใช้การสร้างและปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะศึกษาจากสิ่งของยุคเก่าและอย่าดูถูกของที่ล้าสมัยไปแล้วเพระว่าช่วงหนึ่ง มันคือสิ่งที่ทันสมัยเหมือนกัน

6. เป็นผู้ที่เข้าใจสภาพแวดล้อมของสังคม และความต้องการของประชาชน เพื่อให้การออกแบบสอดคล้องกับความต้องการ
           สังคม เป็นสิ่งที่อยู่กับนักออกแบบเสมอๆ สังคมคือกลุ่มที่มนุษย์นั้นรวมตัวกันอยู่และใช้วิถีชีวิตร่วมกัน นักออกแบบก็คือส่วนหนึ่งในสังคม เมื่อนักออกแบบต้องการ สร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นก็ต้องมองสังคมควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เพราะว่าสิ่งที่คิดนั้น เมื่อมันออกมาเป็นผลงานแล้วสังคมไม่ให้การยอมรับหรือว่าไม่ใช้งานมันแล้วละก็ มันก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ฉะนั้นนักออกแบบที่ดีต้องใช้ชีวิตและอยู่ในสังคมนั้นๆ เข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แล้วนำสิ่งที่ต้องการพัฒนามาปรับปรุง สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ที่สังคมนั้นๆ ต้องการ จึงจะทำให้ผลงานนั้นๆ มีคุณค่าและได้รับการยอมรับ จึงจะเรียกว่านักออกแบบ

7. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจงานออกแบบแต่ละชนิด เพื่อให้การออกแบบตอบสนองได้ตรงตาม จุดประสงค์ของงานออกแบบ
นั้น ๆ เช่น การออกแบบโฆษณามีจุดประสงค์ในการจูงใจเป็นต้น
           ในศาสตร์ของการออกแบบนั้น ไม่ว่าจะออกแบบสิ่งๆใด นักออกแบบต้องเข้าใจในกระบวนการของสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดผลตามที่คาดหวังไว้ ฉะนั้นนักออกแบบต้องคิดให้เป็นกระบวนการตั้งแต่ ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร ทำแล้วจะใช้ได้จริง ทำแล้วจะต้องประสบผลสำเร็จ   แบบนี้เป็นต้น จุดเล็กๆ เหตุผลเล็กๆ ของความต้องการของผู้อื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ถ้านักออกแบบสามารถทำออกมาได้ตามความต้องการของคนคนนั้น นี่คือแนวคิด และวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่
นี่คือแนวคิดและวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่ดี 
โดยมีพื้นฐานในการทำงาน