จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

2_สี...พื้นฐานในการออกแบบทั้ง 10

 สี (Color)

      สี คือสิ่งที่กำหนด Mood and Tone และสร้างความแตกต่างให้กับงานเรา ซึ่งมันจะอยู่ในเส้น รูปทรง พื้นผิว พื้นหนังและตัวหนังสือต่างๆ


ความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มีต่อสีต่างๆ





สีแดง

เป็นสีที่สร้างความเป็นผู้นำ ความตื่นเต้น ความโกรธ ความแค้น ความก้าวร้าว ความอันตราย ความกล้าหาญ สีแดงปานกลางแสดงถึงความมีสุขภาพดี ความมีชีวิตชีวา ความรัก ความหลงไหล ความสำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่ง 

สีแดง...จัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มันจะใช้กันกรณีที่เกี่ยวกับความตื่นเต้น หรืออันตราย 


สีฟ้า-สีน้ำเงิน

ให้ความรู้สึกถึงความสงบ ความเงียบ ความสุขุม ความมั่นคง ความสุภาพ ความหนักแน่น เคร่งขรึม ความเยือกเย็น ความเป็นเอกภาพ ความละเอียด ความรอบคอบ ความสง่างาม     มีศักดิ์ศรี และความมีแรงบันดาลใจ                                                                                               

สีฟ้าน้ำเงิน...สามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มีสมาธิผ่อนคลาย  โทนสีฟ้าจะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และอิสระ ส่วนโทนสีน้ำเงินนั้นจะสื่อถึงฐานะของสังคมชั้นสูง และความร่ำรวย สีน้ำเงินเข้มแสดงออกถึงความรู้ ความเฉลียวฉลาด


สีเขียว

เป็นสีในวรรณะเย็น จะมีความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ความร่มรื่น-ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ความเป็นธรรมชาติ ความปลอดภัย  ความสุข ความสุขุม-เยือกเย็น ความเจริญงอกงาม การเห็นอกเห็นใจ ความสมดุลทางกายและใจ และความสัมพันธ์ที่ดี

สีเขียว...ช่วยลดความกังวลนอกจากนั้นยังมีพลังช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิ ช่วยพัฒนาอารมณ์และพฤติกรรมในเรื่องการมองเห็น


สีเหลือง

เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ความคิดสร้างสรรค์ ความสว่าง การแผ่กระจาย และอำนาจบารมี 

สีเหลือง...นั้นให้ลองดูที่ท้องฟ้าถ้ามืดครื้มปราศจากแสงแดด จะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น ความคิดถึงอนาคตที่สดใส


สีส้ม

ให้ความรู้สึกถึงความร้อน ความอบอุ่น ความสดใส ความมีชีวิตชีวา ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว ความสนุกสนาน การผจญภัย ความรอบรู้ ความมีเสน่ห์ ความสุข ความมั่นใจและความปรารถนา

สีส้ม...เป็นสีที่เร้าความรู้สึก สื่อถึงรสชาติและช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของจิตใจและช่วยเพิ่มปริมาณการส่งผ่านของอากาศไปสู่สมอง ช่วยกระตุ้นเรื่องการจัดระบบหรือความเป็นระเบียบสิ่งต่างๆ


สีม่วง

ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ  ความสูงศักดิ์ ความสง่างาม    การปลอบโยน การเปลี่ยนแปลงและอาลัยอาวรณ์

สีม่วง...เป็นสีที่ช่วยลดความเครียด ทั้งยังช่วยให้นอนหลับลึก และมีพลังความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบแฝงอยู่


สีน้ำตาล

ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม เหลือง หรือสีทอง และรู้สึกถึงความเก่าคลาสสิคในตัววัตถุ

สีน้ำตาล...การใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้ ความเป็นธรรมาชาติของออร์แกนิค โลก ดิน

สีขาว

ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ ความสะอาดสดใส ความอ่อนเยาว์  การเปิดเผย การเกิดความรัก  ความหวัง ความจริง ความมีเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม ให้ความรู้สึกรื่นเริง 

สีขาว...มีพลังช่วยสร้างความสมดุลให้กับการตัดสินใจ ความจริง ความมีเมตตา การรักษา       ช่วยชำระล้างความคิดและความรู้สึกด้านลบ และอาจทำให้เกิดว่างเปล่าได้


สีดำ

ให้ความรู้สึกถึงความเศร้า ความอาลัย ความท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ และสุภาพ สุขุมถ่อมตน 

สีดำ...ทำให้มีความเย็น สร้างความรู้สึกหม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่สว่าง ที่มีสีสันสดใส







งานพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์



RGB คือสี ของแสง
 
CMYK คือสีของงานพิมพ์ 

...มีความแตกต่าง...



ระบบ สี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน แต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง หรือระบบสี สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และมีการเพิ่มเติมสีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไป จึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK )

ระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ในปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10 - 20 - 30 - 40 - 50 - 60 - 70 - 80 - 90 จนถึง 100 %




"ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น

จะเห็นว่าการที่ใช้ Mode color นั้นจะต้องรู้ว่าควรใช้กับงานประเภทไหน และ
สีมีความแตกต่างค่อนข้างมาก และจึงต้องระวังในเรื่องของการเลือกใช้ระบบของสี

ส่วนมาก RGB สีของแสงจะใช้ในการที่เกี่ยวกับภาพ ในทีวี โฆษณา โทรทัศน์ ภาพยนต์   หน้าจอคอมพิวเตอร์ 
ส่วน
CMYK จะใช้ในส่วนการพิมพ์ระบบแท่นพิมพ์ในโรงพิมพ์


ซึ่งสีมีความแตกต่างค่อนข้างมาก และจึงต้องระวังในเรื่องของการใช้สีให้เหมาะกับประเภท งานครับ



 

อ้างอิง

http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/110

https://sites.google.com/site/churaiwankunkouy/citwithya-khxng-si

https://blog.eduzones.com/snowytest/8901

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

1_ เส้น...พื้นฐานในการออกแบบทั้ง 10



 1. เส้นในการออกแบบ (Lines)


เส้นใช้ในการแบ่งพื้นที่หรือสร้างส่วนประกอบต่างๆขึ้นมา เส้นแต่ละชนิดเป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง  ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ

      เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย





    ความรู้สึกที่มีต่อเส้น

เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
ส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  หนักแน่น มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง เป็นสัญญลักษณ์ของความซื่อตรง
ส้นเฉียงหรือเส้นทะแยง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
ส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
ส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
ส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย                  ส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน







เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น  เส้นโค้งคว่ำลง  
ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึก  อารมณ์ดี  เป็นต้น
 








อ้างอิง  
ออกแบบภาพโดย    ณัฐณี คงเมือง_Graphic Designner / เด็กหญิงปรายฟ้า คงเมือง_อายุ 8 ขวบ

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/suttipong_p/visual_art/sec02p02.html

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

องค์ประกอบการออกแบบ (Elements)



1. องค์ประกอบในความคิด (Conceptual Elements)

         องค์ประกอบในความนึกคิดไม่สามารถมองเห็นได้ไม่มีตัวตนแต่ดูเหมือนจะคงอยู่โดยทั่วไป เช่น เรารู้สึกว่ามีจุดอยู่ตรงมุมของรูปร่างมีเส้นอยู่บริเวณรูปร่างของวัตถุมีระนาบหุ้มห่อปริมาตรและปริมาตรครอบคลุมพื้นที่ว่าง แต่ว่าความจริงแล้วองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่บริเวณดังกล่าวอย่างแท้จริง เราเรียกลักษณะขององค์ประกอบทั้งหมดนี้ว่า”องค์ประกอบในความนึกคิด”

1.1 จุด (Point) 

  • จุดชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งในที่ว่าง ไม่มีความกว้าง ความยาว ความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ (Static) ไม่มีทิศทาง( Directionless) ไม่ครอบคลุมพื้นที่ว่าง


1.2 เส้น (Line) 

  • เมื่อจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนไปคือ เส้น ความรู้สึกนึกคิดของเส้นจะต้องมีความยาว แต่ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก มีตำแหน่งและทิศทางพร้อมทั้งการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโต พื้นฐานของกราฟิกก็คือลายเส้น ( LINE ) ไม่ว่าเส้นหนาหรือบาง เส้นประ เส้นโค้ง เส้นซิกแซก ล้วนเป็นการสร้างรูปทรงและสื่อความหมายและสามารถประกอบเป็นภาพได้ หรือ เน้นบางส่วนขอเนื้อหาได้เช่นกัน

1.3 ระนาบ (Plane) 

  • ระนาบเกิดจากการเคลื่อนไหวของแนวของเส้นในทิศทางที่ไม่มีทิศทางของตัวเส้นเอง ทำให้เกิดความกว้างแต่ไม่มีความหนา มีตำแหน่ง และทิศทางที่กำหนดขอบเขตเส้นขนาน 2 เส้น อธิบายได้ถึงความเป็นระนาบซึ่งเกิดจากแนวเส้นที่มองไม่เห็นระหว่าง 2 เส้นขนานนั้นซึ่งให้ความรู้สึกที่ต่อเนื่องกันด้วยสายตา เมื่อเส้นขนานแคบเข้าความรู้สึกของระนาบจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ถ้ามีเส้นขนานจำนวนมากที่ถี่ขึ้นๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อช่องว่างระหว่างแนวเส้นขนานที่ถี่มากจะเป็นเพียงสิ่งที่มาขัดจังหวะพื้นผิวระนาบเท่านั้น



1.4 ปริมาตร / พื้นที่ในการออกแบบ (Volume/Space) 

  • เมื่อระนาบเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆจะเป็นปริมาตรซึ่งมีตำแหน่งในที่ว่างและล้อมรอบโดยระนาบ ปริมาตรหรือมวล(mass) นี้สามารถลวงตาได้เป็น 3 มิติ และถ้าเป็นช่องว่างของตัวอักษรจะช่วยให้อ่านง่ายต่อการอ่าน



2. องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements)

         

         องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements) จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบในความนึกคิด(Conceptual Elements) โดยเมื่อเราเขียนจุด เส้น ระนาบ หรือปริมาตรลงบนกระดาษ เราจะไม่เพียงแต่มองเห็นความกว้างยาวเท่านั้น แต่จะเห็นถึงสีและพื้นผิว ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราใช้และวิธีใช้ เมื่อองค์ประกอบในความนึกคิดเปลี่ยนเป็นมองเห็นได้จะแสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ขนาด สี ผิวสัมผัสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ

2.1 รูปร่าง (Shape/From) 

  • เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของรูปทรงต่างๆ รูปร่างขององค์ประกอบเป็นอย่างไร มีผลมาจากรูปทรงของพื้นผิวและขอบของรูปทรงนั้น ทุกสิ่งที่มองเห็นได้จะมีรูปร่างต่างๆ

2.2 ขนาด (Size/Scale) 

  • แสดงระยะจริงของรูปทรง ความยาว กว้าง สูง ให้วัดได้ระยะเป็นสิ่งกำหนดสัดส่วน (Proportion) ของรูปทรงในสภาพแวดล้อมองค์ประกอบที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างจะมีขนาดซึ่งแสดงถึงความใหญ่เล็ก



2.3 สี (Color) 

  • เนื้อสี ความเข้มสี และความสว่างหรือมืดของสีบนผิวของรูปทรง เป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดในการแยกองค์ประกอบต่างๆ จากสภาพแวดล้อมโดยรอบ“สี” มีความสำคัญกับงานออกแบบแค่ไหน สีที่เลือกใช้ช่วยสื่อสารในเชิงจิตวิทยาของงานได้ คู่สีที่ดีก็ช่วยดึงความสนใจจากผู้พบเห็นได้ ศาสตร์แห่งการใช้สีจึงเป็นความรู้ยิ่งใหญ่ที่เรียนรู้อย่างไรก็ไม่มีวันหมดง่ายๆ แน่นอน ไม่น่าแปลกใจที่การเลือกใช้สีในงานกราฟิก


2.4 ผิวสัมผัส (Texture) 

  • ลักษณะผิวสัมผัสของรูปทรง จะมีผลต่อความแตกต่างในการรับรู้ด้วยการสัมผัส และการสะท้อนแสง ผิวสัมผัสเรียบจะให้ความรู้สึกอยากสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบจะให้ความรู้สึกขรุขระหรือแหลมคมไม่น่าสัมผัส เหมาะที่จะดูด้วยตาเพียงเดียว



2.5 ตัวอักษร (Text / Typography ) 

  • งานออกแบบที่ดีจึงต้องมีตัวอักษรที่เหมาะสมด้วย การออกแบบขึ้นกับประโยชน์ใช้สอย บางครั้งการออกแบบต้องการตัวอักษรที่อ่านง่าย เหมาะกับงานพิมพ์ ตัวอักษรที่น่าสนใจ ตัวอักษรที่เหมาะกับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ เช่นกัน





วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายและความสำคัญของสี

ความหมายของสี
สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาจะทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่มองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่นสะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบก็จะดูดทุกสีสะท้อนแต่สีแดงทำให้เกิดการมองเห็นเป็นสีแดง และรับรู้สีได้เพราะเมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่าแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เมื่อหักเหผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้งเรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง*  และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นและพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้วโดยเกิดจากการหักเห ของแสงอาทิตย์หรือแสงสว่างเมื่อผ่านละอองนํ้าในอากาศซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยาคือมีอำนาจให้เกิด ความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย

ความสำคัญของสีที่มีต่อวิถีชีวิต

สี เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตอย่างมาก นับแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน ได้มีการนำสีมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์กับวิถีชีวิตเพราะสรรพสิ่ง ทั้งหลายได้ถูกห้อมล้อมประกอบไปด้วยสีทั้งสิ้นในงานศิลปะสีเป็นองค์ประกอบ สำคัญอย่างหนึ่งและในวิถีชีวิตและสีก็เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
  1. ใช้นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
  2. ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
  3. ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
  4. ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
  5. ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
  6. เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์
ที่มาของสีนั้นมี 3 ทาง คือ
  1. สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรงหรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้างจากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
  2. สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีเป็นสารเคมีที่ ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้สะดวกมากขึ้นซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่ ไปในปัจจุบัน
  3. แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สีโดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสงอยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้

             ปัจจุบันมนุษย์เริ่มวิวัฒนาการมากขึ้นเกิดคตินิยมในการรับรู้และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีจึงได้รับการพัฒนาเพื่อนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดาร จากเดิมที่เคยใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติได้นำมาประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต สีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยมีการ พัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่าง
   ตัวอย่างสีในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ยังมีสีอีกมากมายหลายเฉดสีแต่ละสีก็สื่อความหมาย และให้อารมณ์ภาพแตกต่างกันออกไปซึ่งแม้ว่าบางสีจะให้ความหมายที่กว้าง แต่กระนั้นความหมายและอารมณ์ของสีเหล่านี้ก็สามารถใช้เป็นไกด์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและสื่ออารมณ์กับงานออกแบบได้



ขอขอบคุณแหล่งที่มาบางส่วน
*(ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html )
ภาพจาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n91.php ธรรมชาติของสีจากธรรมาชาติ

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบกับงานออกแบบ


กระบวนการคิดเบื้องต้น
                 การจะได้แนวคิดที่สนใจมาทำงาน จำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนบางอย่างมาก่อน เช่น การตีความโจทย์ให้แตกต่างกันออกไป หรือหาข้อมูลเบื้องลึกเพื่อนำมาใช้ประกอบการดีไซน์
สำหรับนักออกแบบมักจะเริ่มต้นทำงานโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดที่น่าสนใจ หรือ Concept ก่อนเป็นอันดับแรก
ถึงแม้ว่านักออกแบบจะหาแนวคิดที่น่าสนใจมาได้แล้วจากขั้นตอนต่างๆ จนถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีแล้วนั้น แต่ในความเป็นจริงแนวความคิดที่ดียังถือว่าไม่เพียงพอ เพราะยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นส่วนประกอบสำหรับทำให้เกิดงานกราฟิกที่ดีได้

กระบวนการคิดสร้างสรรค์เบื้องต้น 
การรู้ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ขันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากเพราะจิตของคนเรานั้นสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม มันจะอาศัยสิ่งรอบตัวของคนผู้นั้น สร้างแบบแผนต่างๆ ขึ้นมา จดเอาไว้ ตอบโต้ และยิ่งนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ มากเท่าไรมันก็ยิ่งมันคงและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาแม้ว่าจะเชื่อกันว่าสมองซีกขวาจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิกสร้างสรรค์มากกว่าก็ตาม แต่ในความเป็นจริงถ้าขาดการคิดอย่างมีเหคุผลของสมองซีกซ้ายแล้วล่ะก็ สมองซีกขวาก็อาจทำงานไม่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างของคนที่มีสมองดีเลิศทั้ง 2 ซีก ได้แก่ Leonardo da Vinci (1452 - 1519) ศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาลี





สมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย และทำงานในลักษณะของภาพรวม ความคิดรวบยอด จินตนาการ การใช้ความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้น บรรดาศิลปิน นักวาดภาพ ช่างปั้น นักร้อง นักแต่งแพลง นักเขียนก็จะใช้สมองซีกนี้มากกว่า ตัวอย่างของคนที่มีสมองซีกขวาดีเลิศ ได้แก่ Wolfgang Amadeus Mozart (1756 - 1791) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรีย

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการออกแบบ
วัตถุประสงค์ของการออกแบบเป็นพื้นฐานสำคัญของเป้าหมายในเรื่องของการออกแบบนอกจากหน้าที่ใช้สอยแล้วความน่าสนใจก็คือหัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่ง
ความน่าสนใจเกิดได้หลายแบบ เช่น การเกิดรูปแบบใหม่ๆ การสื่อสารแบบใหม่ การสร้างภาษากราฟิกแบบใหม่ การกบฎต่อแนวคิดเก่า หรือแม้แต่ความเรียบง่ายก็ตาม
สรุปแล้วความน่าสนใจมักจะมีคุณสมบัติของความใหม่และการสร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนประกอบ
ส่วนเป้าหมายด้านอื่นๆ เช่น เป้าหมายด้านการตลาด  เป้าหมายทางการให้เผยแพร่ข่าวสารหรือเป้าหมายทางการเมือง ก็ยังคงมีอยู่
คุณสมบัติของนักออกแบบ  ในการเป็นนักออกแบบที่ดี จะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของนักออกแบบมีหลายประการ ซึ่งพอจะจำแนกออกได้ดังนี้




1. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
           สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักออกแบบ  คือ ความคิดสร้างสรรค์ ถ้านักออกแบบนั้นขาดสมองและขาดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ใช้เวลาในการคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา คุณก็ไม่ใช่นักออกแบบที่ดี เพราะว่านักออกแบบที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ

2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการออกแบบ
           ทักษะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทดลองปฎิบัติ ทำซํ้า จนเกิดความชำนาญ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในแขนงนั้นๆ เมื่อถึงเวลาลงมือปฎิบัติจริง ควรใช้ระยะเวลาตามกำหนดไม่ควรใช้เวลาในการปฎิบัติมากเกินไป ในขณะที่นักออกแบบคิดสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นควรหมั่นฝึกฝนทักษะไว้ให้ชำนาญ

3. เป็นผู้ที่รู้จักสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวซึ่งมีทั้งสภาพทางธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
           คุณสมบัติเริ่มต้นของนักออกแบบ คือ  ช่างสังเกต การเป็นนักช่างสังเกตนั้น จะได้มุมมองใหม่ๆ จากสิ่งที่เห็นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นมันจะเล็กน้อยเพียงใดแต่มันก็ทำให้เกิดความคิดที่ยิ่งใหญ่ ถ้ารู้จักคิด รู้จักสังเกต รู้จักพิจารณา และพัฒนาตัวเอง ตัวอย่างเช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถ้าวันนั้นเซอร์ไอแซก นิวตัน ไม่สังเกตผลแอบเปิ้ลที่หล่นลงมาจากต้นไม้ เพราะความช่างสังเกต ช่างตั้งคำถามและต้องการหาคำตอบของเซอร์ไอแซก นิวตัน มนุษย์บนโลกจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุดของกฏของแรงโน้มถ่วง หรือ กฏของเซอร์ไอแซก นิวตัน ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวคิดหลายๆแบบต่อๆ กันมาจนปัจจุบันนี้          

4. เป็นผู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของงานออกแบบสร้างสรรค์ทุกสาขาอยู่เสมอ
          นักออกแบบที่ดีนั้นควรจะรอบรู้ในทุกแขนงวิชาเพื่อนำความรู้นั้นมาช่วยในการพัฒนาและออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์ใดๆก็ตาม เช่น เมื่อต้องการจะออกแบบ เช่น เก้าอิ้สำหรับคนพิการทางเท้า ก็ควรต้องศึกษาหาความรู้ว่า ทำอย่างไงถึงจะออกแบบให้คนพิการทางเท้านั้นได้สามารถใช้ สิ่งที่นักออกแบบคิดออกแบบมานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นักออกแบบต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่ เรื่องของกายวิภาคศาสตร์ เรื่องของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องของวัสดุที่จะนำมาใช้ แม้กระทั่งเรื่องของจิตใจของผู้พิการนั้นเอง เพื่อที่นักออกแบบจะได้นำข้อมูลทั้งหมดนั้นมาประมวลหาความพอดี ความเหมาะสม และลงมือปฎิบัติให้เกิดผลที่น่าพอใจ ทั้งต่อนักออกแบบและผู้ใช้ให้มากที่สุดนั้นเอง

5. เป็นผู้ที่มีความสนใจศึกษาความเชื่อ และผลงานที่ออกแบบตามความเชื่อในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานใน   การออกแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าต่อไปในปัจจุบันและอนาคต
          เรื่องราวในอดีตนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของล้าสมัย ทุกอย่างล้วนมีความลงตัวและดีที่สุดในยุคสมัยนั้นๆ เพียงแต่เทคโนโลยี่ทางวัตถุนั้นอาจจะยังเทียบกับสมัยนี้ไมได้ เน้นว่าเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่ไอเดียและความคิดนั้นเรียกได้ว่าจะ 100 ปี หรือ 1000 ที่แล้ว มนุษย์ก็มีความคิดใหม่ๆ มาเสมอ ฉะนั้นการที่เราจะศึกษาแนวความคิดของการออกแบบในยุคสมัยต่างๆ นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการทำความเข้าใจในจุดประสงค์และสามารถนำความคิดนั้นมาพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เช่น ในยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นเครื่องทุนแรง ในการล่าสัตว์หรืออาวุธนั้นเอง จากไม้แหลมที่ไว้แทงล่าสัตว์ ก็กลายมาเป็นหิน และหินนั้นก็มีหลายชนิดจนกระทั่งค้นพบหินที่มีความเหมาะสมแข็งและวิธีทำให้ได้รูปทรงตามต้องการ จนมาถึงยุคของเหล็กและทองแดงและจนปัจจุบัน ตามข้อความนี้ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกยุคนั้นคิดอาวุธได้ดีเสมอ เมื่อมีการค้นพบวัสดุใหม่ๆ และนำมาใช้การสร้างและปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะศึกษาจากสิ่งของยุคเก่าและอย่าดูถูกของที่ล้าสมัยไปแล้วเพระว่าช่วงหนึ่ง มันคือสิ่งที่ทันสมัยเหมือนกัน

6. เป็นผู้ที่เข้าใจสภาพแวดล้อมของสังคม และความต้องการของประชาชน เพื่อให้การออกแบบสอดคล้องกับความต้องการ
           สังคม เป็นสิ่งที่อยู่กับนักออกแบบเสมอๆ สังคมคือกลุ่มที่มนุษย์นั้นรวมตัวกันอยู่และใช้วิถีชีวิตร่วมกัน นักออกแบบก็คือส่วนหนึ่งในสังคม เมื่อนักออกแบบต้องการ สร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นก็ต้องมองสังคมควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เพราะว่าสิ่งที่คิดนั้น เมื่อมันออกมาเป็นผลงานแล้วสังคมไม่ให้การยอมรับหรือว่าไม่ใช้งานมันแล้วละก็ มันก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ฉะนั้นนักออกแบบที่ดีต้องใช้ชีวิตและอยู่ในสังคมนั้นๆ เข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แล้วนำสิ่งที่ต้องการพัฒนามาปรับปรุง สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ที่สังคมนั้นๆ ต้องการ จึงจะทำให้ผลงานนั้นๆ มีคุณค่าและได้รับการยอมรับ จึงจะเรียกว่านักออกแบบ

7. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจงานออกแบบแต่ละชนิด เพื่อให้การออกแบบตอบสนองได้ตรงตาม จุดประสงค์ของงานออกแบบ
นั้น ๆ เช่น การออกแบบโฆษณามีจุดประสงค์ในการจูงใจเป็นต้น
           ในศาสตร์ของการออกแบบนั้น ไม่ว่าจะออกแบบสิ่งๆใด นักออกแบบต้องเข้าใจในกระบวนการของสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดผลตามที่คาดหวังไว้ ฉะนั้นนักออกแบบต้องคิดให้เป็นกระบวนการตั้งแต่ ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร ทำแล้วจะใช้ได้จริง ทำแล้วจะต้องประสบผลสำเร็จ   แบบนี้เป็นต้น จุดเล็กๆ เหตุผลเล็กๆ ของความต้องการของผู้อื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ถ้านักออกแบบสามารถทำออกมาได้ตามความต้องการของคนคนนั้น นี่คือแนวคิด และวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่
นี่คือแนวคิดและวิธีปฎิบัติในการเป็นนักออกแบบและสร้างสรรค์ที่ดี 
โดยมีพื้นฐานในการทำงาน